ข่าวสารอัพเดท

PDPA คืออะไร เริ่มต้นยังไง แล้วเราต้องทำอะไรบ้าง

PDPA คือกฎหมายที่เขียนขึ้นมาเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยสาระสำคัญคือการที่ห้ามไม่ให้ผู้ใด “ทำอะไร” กับข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือก็คือต้องขออนุญาติผู้อื่นก่อนจะนำข้อมูลไปใช้งานนั่นเอง และการตลาดออนไลน์คือการตลาดที่ต้องอาศัยข้อมูลมากมาย ทำให้กฎหมาย PDPA ค่อนข้างกระทบกับการตลาดออนไลน์โดยตรง วันนี้เราจะมาอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่อง PDPA ว่ามันคืออะไร และควรต้องทำอะไรบ้าง มาเริ่มต้นกันเลยครับ


PDPA คืออะไร?

PDPA ย่อมาจาก “Personal Data Protection Act” คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลล้วนๆ

ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร?

ข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนเจ้าของข้อมูลได้ไม่ว่าทางตรง หรือ ทางอ้อม แบ่งเป็น 2 ระดับ

  1. ข้อมูลทั่วไป เช่น
    • ชื่อ-สกุล เบอร์โทรศัพท์ อีเมล์ ไอดีไลน์
    • ภาพถ่าย เลขบัตรประชาชน พาสปอร์ต
    • ทะเบียนรถยนต์ บ้านเลขที่
    • วันเดือนปีเกิด ส่วนสูง น้ำหนัก
  2. ข้อมูลที่มีความอ่อนไหว
    • เชื้อชาติ สัญชาติ เผ่าพันธุ์
    • ความเชื่อ ความเห็นทางการเมือง
    • ประวัติอาชญากรรม
    • ข้อมูลสุขภาพ / พันธุกรรม


PDPA เกี่ยวกับใครบ้าง

ผู้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. เจ้าของข้อมูล : Data Subject
  2. ผู้ควบคุมข้อมูล : Data Controller
  3. ผู้ประมวลผลข้อมูล : Data Processor

เจ้าของข้อมูล : Data Subject

คือ คนที่ถูกระบุอยู่ในข้อมูล หรือ ข้อมูลสามารถชี้มาที่ใครได้ แสดงว่าคนนั้นคือเจ้าของข้อมูล พวกเราทุกคนมีสิทธิเป็นเจ้าของข้อมูล

ผู้ควบคุมข้อมูล

คือ คนหรือองค์กร ที่เป็นผู้เก็บข้อมูล และเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้ข้อมูลทำอะไร

  • เช่น ร้านค้าที่มีระบบสมาชิก เก็บข้อมูลลูกค้า
  • พ่อค้า ส่งสินค้าไปยังที่อยู่ของลูกค้า

ผู้ประมวลผลข้อมูล

คือ คนหรือองค์กร ที่ประมวลผลข้อมูลภายใต้คำสั่งของผู้ควบคุมข้อมูล

  • เช่น ไรเดอร์ ไปส่งของให้ที่อยู่ลูกค้า
  • เป็นผู้ประมวลผล แต่ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมข้อมูล


ขั้นตอนสำหรับทำ PDPA

แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนง่ายๆดังนี้

  1. เขียนข้อความแจ้งเรื่องการเก็บและใช้ข้อมูลเป็น Policy หรือ Notice ก็ได้
  2. ขอสิทธิใช้งาน จากเจ้าของข้อมู

สำหรับแบรนด์ องค์กร ที่มีเว็บไซต์

  1. จัดทำหน้า “นโยบายความเป็นส่วนตัว” บนเว็บไซต์ ใส่รายละเอียดให้ครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด ดูตัวอย่างเอกสาร สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
  2. ติดตั้งระบบขอ Consent จากลูกค้าเพื่อเก็บ Cookie การใช้งานบนเว็บไซต์

สำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่ไม่มีเว็บไซต์

  1. สร้างโพสต์ปักหมุด หรือ เพิ่มข้อความลงในแคปชั่น เกี่ยวกับนโยบายความเป็นส่วนตัว อาจใส่ไว้ใน Welcome Message ของแชทต่างๆ เนื้อหาหลักๆคือ ขออนุญาต ว่าจะทำอะไรบ้าง เช่น “ขออนุญาตส่งโปรโมชั่นไปทางเมสเสจ” หรือ “ทีมงานขออนุญาตเก็บข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาด”
  2. มีการส่งข้อความแจ้งลูกค้า หรือใส่ไว้ในจุดที่เห็นเด่นชัดว่าหากไม่ต้องการให้ใช้งานข้อมูล สามารถแจ้งทางร้านให้ลบข้อมูลออกได้ เป็นต้น


เครื่องมือช่วยทำ PDPA

สำหรับการเขียน Policy และการติดตั้งเครื่องมือขอเก็บ Cookie สามารถใช้บริการจากเว็บไซต์ต่างๆได้หลายที่ อาทิเช่น

เครื่องมือช่วยเขียน Policy

เครื่องมือสำหรับขอเก็บ Cookies บนเว็บไซต์

  • Cookie WOW : www.cookiewow.com
  • เริ่มต้นใช้งานได้ฟรี ฟังค์ชันค่อนข้างครบถ้วน


และทั้งหมดนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องกฎหมาย PDPA รวมถึงเรื่องที่เราควรต้องทำครับ หากเพื่อนๆมีข้อสงสัยหรืออยากแชร์ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแวะเวียนไปพูดคุยในเพจ Digital D Day ได้เลยนะครับ แล้วพบกันนะ

Related posts
ข่าวสารอัพเดทSearch

Google อัพเดทฟังค์ชั่นชุดใหญ่สำหรับสายการท่องเที่ยว

ข่าวสารอัพเดท

Google เปิดตัว Calljoy ผู้ช่วยรับโทรศัพท์ สำหรับ SMEs

ข่าวสารอัพเดท

Google Assistant สั่งงานด้วยเสียงใน Google Maps

ข่าวสารอัพเดท

Google My Business เปิดธุรกิจต้อนรับลูกค้า LGBT